นมโรงเรียนเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น และช่วยให้เด็กไทยมีพลานามัยที่แข็งแรง แต่การทุจริตนมโรงเรียนมีมาตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยเฉพาะที่ผู้จัดซื้อ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือเทศบาล โดยการเรียกผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ประกอบการ จากความหวังดีในการจัดตั้งโครงการนี้ กลับกลายเป็นปัญหาคาใจที่ต้องทางแก้มาตลอดเกือบทุกรัฐบาล ล่าสุด ศธ.เสนอให้มีการโซนนิ่งการจัดซื้อเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรไทย ให้เปลี่ยนการผลิตจากการปลูกข้าว อ้อย ข้าวโพด หรือมันสำปะหลัง มาเลี้ยงโคนมแทน เนื่องจากเวลานั้นเกษตรกรประสบปัญหาพืชผลทางการเกษตรที่ราคาเปลี่ยนแปลงขึ้นลงไม่แน่นอนเมื่อเกษตรกรหันมาเลี้ยงโคนม ปรากฏว่าไม่มีตลาดรองรับ ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีมติคณะรัฐมนตรี จัดตั้ง "โครงการนมโรงเรียน" ขึ้นในปี 2535 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตโคนม อีกทั้งส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้แก่เด็กและเยาวชนโครงการนมโรงเรียนนี้ รัฐบาลจัดงบสนับสนุนในขณะนั้นปีละ 1,700 ล้านบาท พร้อมทั้งมีเงื่อนไขว่า น้ำนมที่ใช้เป็นวัตถุดิบในโครงการนมโรงเรียนต้องเป็นน้ำนมดิบจากเกษตรกรในประเทศเริ่มปัญหาน้ำนมดิบในประเทศราคาสูง เป็นเหตุให้นำนมผงผสมลดต้นทุนแม้ว่าจะเป็นนโยบายที่ดูดี แต่ในทางปฏิบัติกลับเกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรผลิต กับราคานมผงที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแตกต่างกันมาก โดยน้ำนมดิบของเกษตรกรในประเทศราคาโดยประมาณอยู่ที่กิโลกรัมละ 12 บาท ในขณะที่นมผงที่นำเข้าจากต่างประเทศ ราคากิโลกรัมละ 8 บาทโรงงานผลิตนม พยายามบิดเบือนนโยบายของรัฐโดยแอบเอานมผงผสมน้ำเพื่อทำเป็นนมในโครงการนมโรงเรียน ความเดือดร้อนตกอยู่ที่เกษตรกรไทยเนื่องจากราคาแข่งขันกับนมผงในตลาดต่างประเทศไม่ได้รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการจำกัดโควตานำเข้านมผง จากต่างประเทศ แต่มาตรการดังกล่าวขัดกับหลักการค้าเสรี ขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการกีดกันทางการค้า และต้องยกเลิกไปในที่สุดปัญหาการแข่งขันของราคานมที่เป็นวัตถุดิบเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อประเทศสหรัฐ ประกาศใช้กฎหมาย Farm Act 2002 การบังคับใช้กฎหมายนี้ทำให้ภาคเกษตรกรรมในประเทศสหรัฐฯ ได้รับเงินอุดหนุนถึง 189,000 ล้านดอลลาร์อเมริกัน ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ผลของ Farm Act ทำให้เกษตรกรในประเทศสหรัฐได้รับผลประโยชน์หลายอย่าง อาทิ ไม่มีการเก็บภาษีน้ำมันที่ใช้ในภาคการเกษตร การลดภาษีเครื่องจักร หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการเกษตร ทำให้สินค้าด้านการเกษตร มีราคาต่ำลง โดยเฉพาะนมผงที่มาจากสหรัฐฯ มีราคาอยู่ที่ประมาณ 6 บาทต่อกิโลกรัมกำลังผลิดน้ำนมดิบมีตลอดปี เกิดปัญหานมล้นตลาดช่วงปิดเทอมหากพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว ปัญหาเรื่องนมล้นตลาดไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากในแต่ละวันมีความต้องการน้ำนมดิบสูงถึง 1,900 ตัน แต่เกษตรกรผลิตได้เพียง 1,200-1,300 ตันต่อวันเท่านั้นแต่ปัญหาเรื่องนมล้นตลาดที่เกิดขึ้นมีอยู่ 2 ประการคือ 1.การใช้เล่ห์เหลี่ยมของผู้ประกอบการไม่ใช้น้ำนมดิบ 100% เป็นส่วนประกอบ และ 2.ในช่วงปิดเทอมก็มีปัญหาไม่มีที่ระบายน้ำนมดิบของเกษตรกร จึงเกิดปัญหานมล้นตลาด (Over supply) ดังที่เห็นได้จากข่าวที่เกษตรกรโคนมนำนมมาเททิ้งประท้วงอยู่บ่อย ๆ ในช่วงปิดเทอมปัญหาที่สำคัญคือเกษตรกรไม่สามารถควบคุมปริมาณการผลิตน้ำนมดิบได้ โดยน้ำนมดิบของเกษตรกรจะมีตลอด 365 วันหรือทั้งปี ขณะที่โครงการนมโรงเรียนมีโควตาให้เด็กนักเรียนเพียงแค่ 200 วัน เฉพาะในช่วงเปิดเทอมดังนั้นในช่วงปิดเทอมนมโรงเรียนก็เกิดปัญหาอีกเนื่องจากโรงงานไม่รับซื้อมาผลิต เพราะไม่มีความต้องการจากโรงเรียน รัฐบาลจึงแก้ปัญหาโดย เพิ่มโควตาช่วงปิดเทอมให้อีก 30 วัน เป็น 230 วันโดยในการจัดการนั้น คือให้เด็กนักเรียนหิ้วกลับบ้านในครั้งเดียว 30 กล่อง เพื่อนำไปดื่มในช่วงปิดเทอมแต่ปัญหาที่ตามมาคือ โรงงานผลิตนมขนาดเล็ก และขนาดกลางไม่สามารถผลิตนมที่มีอายุอยู่ได้ถึง 30 วัน เนื่องจากระบบการผลิตนมให้อยู่ได้นานถึง 30 วัน ต้องผลิตในระบบ UHT ซึ่งมีอายุนานกว่า แต่คุณภาพและสารอาหารน้อยกว่า นมพาสเจอไรซ์ทำให้บริษัทที่ผลิตนมขนาดใหญ่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบายดังกล่าวยังไม่มีเครื่องมือตรวจสอบ ว่าน้ำนมดิบแท้หรือปนนมผงต้องไม่ลืมว่าเงื่อนไขของรัฐบาลคือนมโครงการนมโรงเรียนต้องทำจากน้ำนมดิบ 100% แต่การตรวจสอบเพื่อดูว่ามีการผสมนมผงลงไปหรือไม่ นั้นดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. เปิดเผยว่า ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี ขณะนี้ทั้งในประเทศและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ยังไม่มีประเทศใดสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการปลอมปนนมผงเข้าไปหรือไม่นอกจากนี้ นมที่ผลิตจากโรงงานขนาดใหญ่มีราคาถูกกว่านมที่ผลิตโดยโรงงานขนาดเล็ก การแข่งขันด้านราคาสู้ไม่ได้ ทำให้โรงงานขนาดเล็กซึ่งรับน้ำนมดิบภายในประเทศเดือดร้อน รัฐบาลจึงเข้ามาแทรกแซงการจัดซื้อโดยกำหนดเป็น “คูปองนม” เพื่อช่วยเหลือโรงงานขนาดเล็ก กล่าวคือ การจะขายนมให้ส่วนราชการได้ ผู้ขายจะต้องมีคูปองนมซึ่งจะสามารถบอกจำนวนนมที่จะขายได้ ปัญหาที่ตามมาคือเกิดการฮั้วกันระหว่างผู้ผลิตและผู้จัดซื้อ โดยในจังหวัดนั้นๆ ได้ถูกกำหนดแล้วว่าใครจะเป็นผู้ชนะการประกวดราคาหรือสอบราคาการแบ่งโซน เพื่อช่วยให้โรงงานขนาดเล็กสามารถแข่งขันได้ แม้เปลี่ยนรูปแบบการจัดการ แต่ทุจริตก็ยังตามมาได้ตลอดจากการสำรวจการดำเนินการตาม "โครงการนมโรงเรียน" เบื้องต้นในจังหวัด ลพบุรี สระบุรี และนครราชสีมา อาจารย์ใรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ได้เปิดเผยว่า ในโรงเรียนที่ตนสังกัดอยู่นั้น ก็ยังมีการทุจริตนมโรงเรียน ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงนโยบายการจัดการมากี่ครั้งแล้วก็ตาม"การทุจริตนมโรงเรียน มีอยู่หลักๆ 3 วิธี วิธีแรกคือผู้ผลิตทำการทุจริตโดยแอบเอานมผงเข้าไปเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารัฐบาลไม่มีการแทรกแซงเลย บริษัทผู้ผลิตนมก็จะพากันแข่งขันกันลดคุณภาพนมเพื่อลดต้นทุนการผลิต ในระยะยาวจะทำให้มีการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือผู้ผลิตรายย่อย และนักเรียนที่จะต้องดื่มนมที่มีคุณภาพด้อยลง""วิธีที่สองคือการฮั้วการประมูลนมโรงเรียนโดยการแบ่งโซนนั้นแก้ปัญหาไม่ได้ เนื่องจากผู้มีอำนาจใช้เครื่องมือการแบ่งโซนเอื้อผลประโยชน์ต่อโรงงานผลิตนมของเอกชน วิธีที่ 3 คือการกินหัวคิว โดยกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดซื้อนม"มาตรการล่าสุดในการแก้ปัญหาของรัฐบาลคือ การแบ่งโซนแบบใหม่ โดยกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ได้กำหนดให้ทางโรงเรียนจัดซื้อนมจากโรงงานผลิตนม โดยโรงเรียนจะต้องทำรายละเอียดเสนอด้วยว่าจะรับนมจากโรงงานนมแห่งใด โดยยึดว่าโรงงานต้องอยู่ห่างจากโรงเรียนไม่เกิน 100 กิโลเมตร และเป็นนมพาสเจอไรซ์การใช้วิธีนี้เชื่อว่าจะแก้ปัญหานมโรงเรียนได้ ทำให้เด็กดื่มนมได้ภายในเช้าวันนั้นหรือก่อนเที่ยง เพราะระยะทาง 100 กิโลเมตร สามารถจัดส่งได้สะดวก นอกจากนี้ยังช่วยให้โรงงานนมในท้องถิ่นสามารถแข่งขัน กับโรงงานนมขนาดใหญ่ได้ด้วย ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปหารือร่วมกัน โดย ศธ.มีหน้าที่เสนอแผนให้ กระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณาระวังโซนนิ่ง 100 กิโลเมตร จะได้นมคุณภาพต่ำ โรงงานนมลดต้นทุน แข่งกันดั๊มราคาอย่างไรก็ตาม อ.สมเจษ ใจภักดี ผู้จัดการโครงการสหกรณ์โคนมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี จ.ลพบุรี กล่าวถึง การกำหนดโซน รัศมี 100 กิโลเมตรที่กำลังจะดำเนินการนั้น ข้อดีคือทำให้เด็กได้ดื่มนมที่สด และมีคุณภาพมากขึ้นแต่ข้อเสียคือการกระจุกตัวของโรงงานผลิตนม โดยข้อเท็จจริงแล้วพบว่ามีเพียง 2 จังหวัดเท่านั้นคือนราธิวาสและภูเก็ตที่มีปัญหาไม่มีโรงงานในพื้นที่บริการในทางกลับกันหากมีในเขตพื้นที่บริการใดมีโรงงานผลิตนมมากเกินไป ปัญหาเรื่องการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ ก็จะตามมาอย่างแน่นอน คือแข่งขันกันลดคุณภาพ ลดราคานม ผลเสียก็จะตกอยู่กับผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานที่มีพื้นที่รัศมีอยู่กับโรงงานขนาดใหญ่แม้ว่าการดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการจัดโซนนิ่งอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหา แต่ถ้าวัตถุดิบหรือน้ำนมดิบในประเทศยังคงมีราคาสูง ด้านผู้ผลิตก็ต้องพยายามบิดเบือนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตของตัวเองลง ซึ่งก็เป็นช่องทางการฮั้วกัน โดยมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการระบายนมที่ไม่มีคุณภาพสู่โรงเรียนเป็นภาระของรัฐบาลที่จะต้องหาคำตอบว่า การค้าเสรีตามหลักขององค์การการค้าโลกที่เป็นอยู่ในขณะนี้ประเทศไทยจะทำอย่างไร เพื่อให้น้ำนมดิบในประเทศสามารถแข่งขันได้ และถ้าหากมีการจัดโซนรัศมีขึ้นแล้วจะสร้างความยุติธรรมในการกำหนดโควตาการขายของแต่ละโรงงานได้อย่างไรทั้งนี้ทั้งนั้นจิตสำนึกร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญมาก หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นโรงงานผู้ผลิตนม ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดซื้อนม ตระหนักถึงอนาคตของเด็กๆ ที่จะมีสุขภาพอนามัยแข็งแรงมีสมองพัฒนาประเทศในอนาคต และเห็นอกเห็นใจเกษตรกรผู้ยากจนในสังคมไทย ให้สามารถลืมตาอ้าปากได้ ปัญหาต่างก็คงจะไม่เกิดขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น